Topbanner

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

“ปลั๊กพ่วง” ภัยร้ายใกล้ตัวสุดอันตราย



กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เตือนประชาชนให้ระวังการใช้ปลั๊กพ่วงเนื่องจากคุณภาพของสายพ่วงที่มีเต้ารับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆนั้นไม่ได้มาตรฐานที่จะช่วยป้องกัน อันตรายจากการเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรจากวัสดุที่ไม่ได้คุณภาพ ซึ่งเป็นอันตรายต่อทรัพย์สิน หรือร้ายแรง ที่สุดก็อาจลุกลามไปจนถึงอันตรายต่อชีวิตหากเกิดอุบัติเหตุจากการใช้งานอย่างไม่ระมัดระวัง


นางสาวเสาวณี  มุสิแดง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า ประชาชนควรตื่นตัวระวังอันตรายจากปลั๊กพ่วง ซึ่งปัจจุบันกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าที่ย่อมเยาว์สามารถเป็นจุดขายเสนอให้ผู้บริโภคได้ตัดสินใจซื้อได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ สิ่งที่ผู้บริโภคนึกถึงคือการอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าได้หลายชนิดในคราว เดียวกัน นอกจากผู้บริโภคต้องตรวจสอบคุณภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้าให้พร้อมใช้งานแล้ว การตรวจสอบคุณภาพของ สายพ่วงที่มีเต้ารับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆนั้น ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยป้องกันอันตรายจากการเกิด กระแสไฟฟ้าลัดวงจรซึ่งเป็นอันตรายต่อทรัพย์สิน จนกระทั่งถึงชีวิตของผู้ใช้งานได้ ถ้าใช้ปลั๊กพ่วงจนปริมาณไฟรวมกันแล้วเกินกว่าขนาดที่ปลักพ่วงทนได้ สายไฟก็จะเกิดความร้อนขึ้น จนถึงกับทำให้ฉนวนหุ้มสายไฟหลอมละลาย เกิดไฟลุกได้ หรือสายไฟฟ้าร้อนถึงจุดหลอมละลาย จนกระทั่งสายทองแดงภายในทั้งสองเส้นแตะกัน ก็จะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรทันที ซึ่งจุดนั้นก็จะมีความร้อนที่สูงมากขึ้นทำให้เกิดเพลิงไหม้  ปลั๊กพ่วงเป็นอุปกรณ์เสริมทางไฟฟ้าที่ยังไม่มีมาตรฐาน ม.อ.ก. ควบคุม จึงเป็นช่องว่างที่ที่ผลิต จำหน่าย แสดงเครื่องหมายที่ทำให้ผู้ซื้อเข้าใจผิด เช่นติดตรามาตฐาน มอก. 11 ซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับของ สายไฟฟ้า ไม่ใช่ของปลั๊กพ่วง ดังนั้นการเลือกใช้ปลั๊กพ่วงจึงควรพิจารณาให้ดี ในส่วนประกอบต่างๆ ของปลั๊กให้ดี ทั้งตัวปลั๊กเสียบ ตัวผู้ ตัวเมีย สายไฟฟ้า และวัสดุที่ใช้ทำรางปลั๊ก แต่อย่างไรก็ดี สินค้าที่มีตราที่น่าเชื่อถือราคาสินค้าก็สูงตาม อาจเป็นดัชนีหนึ่งที่บ่งบอกถึงคุณภาพสินค้าที่เราใช้พิจารณาได้ง่ายๆ วิธีหนึ่ง

ปัจจุบันผู้บริโภคได้รับผลเสียและอันตรายจากการใช้ปลั๊กพ่วงมากขึ้น กรมวิทยาศาสตร์ฯ จึงได้มีเฝ้าระวังสินค้าที่ไม่ปลอดภัย และสุ่มเก็บมาตรวจสอบคุณภาพ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค โดยในปีงบประมาณ 2557 นี้ จะทำการสุ่มเก็บตัวอย่างปลั๊กพ่วงต่อไฟฟ้าในทุกภูมิภาคของประเทศ โดยในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาได้สุ่มตรวจสอบตัวอย่างปลั๊กพ่วงต่อ มาจากจังหวัดพิจิตร นครสวรรค์ สิงบุบรี ปทุมธานี ซึ่งจะเผยแพร่ข้อมูลการทดสอบให้ประชาชนทราบในลำดับต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น